กลับมาพบกันเอนทรี่กิ๊วก๊าวโดยทาสเระซังเพื่อทาสเระซังนะคะ ♥

หัวข้อวันนี้ไม่มีไรมาก แค่เปิดดิคฯอ่านสองสามเล่มจนจามเพราะฝุ่นฟุ้ง (ซื้อมาวางโชว์แทบไม่เคยแตะ…)

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมต้องเรียกมัตสึอิ เรนะ ว่า “เรนะฮยอง”

สงสัยก็ไม่รู้จะถามใคร เหมือนจะไม่มีใครรู้เลย แต่สงสัยไปเถอะ มันไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ของเรา …. 555555555555555555555555

สิ่งแรกที่สงสัยคือ ฮยองคือไรวะ?

เข้าใจหลักการของชื่อเล่นเด็กญี่ปุ่นอยู่หรอก ว่าบางครั้งเป็นแค่เสียง ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ
แต่ชื่อ “เรนะฮยอง” ดูจะใช้ในวาระพิเศษบางอย่าง เช่นตอนโม่ย ๆ เป็นต้น เลยคิดว่าน่าจะมีความหมายอื่นนะ

ช่วงแรก ๆ บังเอิญไปอ่านกระทู้พันดริฟท์ ก็เจอคนมาเถียงกันว่ามันน่าออกเสียงว่า “เฮียง” นะ
ถ้าเป็น “ฮยอง” ต้องสะกดว่า Hyun hyeong บลาบลาบลา

อันที่จริง ตามที่คห.นี้อธิบายมามันก็ไม่ผิดหรอก
ถ้าพูดถึงการออกเสียงภาษาไทยจากภาษาคาราโอเกะอ่ะนะ

แต่ปัญหาคือ ภาษาญี่ปุ่นสะกดไว้ว่า ひょんไปดูปากณัชชานะคะ “ฮ(ย)อง”

6

ที่จริง ปัญหาหนักมากของคำนี้สำหรับคนไทยอยู่ที่สระเสียง -ょん ไม่มีในภาษาไทย ส่งผลให้คนไทยซึ่งใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่จับเสียงสระเสียงนี้ไม่ได้ เพราะมันไม่มีหน่วยความจำของเสียงนี้เก็บไว้ในสมอง

คิดภาพง่าย ๆ

พอหูฟังแล้วส่งข้อมูลไปยังสมอง > สมองหาคลื่นเสียงที่คุ้นเคย > หาไม่เจอ > สมองไม่เข้าใจ
> ไม่สามารถสั่งการให้ปากออกเสียงได้

ให้เข้าใจง่ายกว่าเดิมก็คือ เด็กทารกแรกเกิดพูดได้แต่แบ๊ะ ๆ แต่พอแม่เข้าไปพูดด้วยคำว่า แม่ แม่ แม่ แม่ ให้เด็กฟัง ให้เด็กคุ้นหูบ่อยเข้าเด็กจึงพูดคำแรกออกมาได้คือคำว่า แม่ (จากการวิจัย คำว่า “แม่” ออกเสียงง่ายกว่าคำว่า “พ่อ”)

จากเด็ก ๆ พูดไม่ชัด พอได้ยินภาษาบ่อยเข้าก็คุ้นเคยจนเริ่มพูดชัดขึ้นเรื่อย ๆ
โดยในสมองมีสำเนียงมาตรฐานคือภาษาแม่ตามที่ได้ยินจากคนรอบตัว
ถ้าคนในครอบครัวพูดเหน่อ เด็กคนนั้นก็มีโอกาสพูดเหน่อสูง เหน่อแบบไม่รู้ตัวว่าตัวเองเหน่อ
เพราะมันคือสำเนียงที่คุ้นหูจนคิดว่ามันเสียงมาตรฐาน

กรณีเดียวกับ ถ้าให้คนใต้ที่พูดสำเนียงใต้มาตลอด บังคับให้พูดภาษากลาง ยังไงก็ต้องมีสำเนียงทองแดง

สมัยเรียน มีเพื่อนคนนึงเป็นคนสุพรรณฯ มันพูดเหน่อ ถึงจะพยายามปรับให้กลางยังไง ก็เหน่ออยู่ดี
คงไม่เป็นปัญหาหรอก ถ้ามันไม่ได้พูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงเหน่อสุพรรณฯ

ใช่ ….มันพูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงสุพรรณบุรีบ้านเราเนี่ย

เรียนจนจบ 4 ปีก็ยังติดเหน่ออยู่ 😂 โว๊ะ ถือเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวล่ะกัน
แต่สำเนียงเป็นสิ่งที่แก้ไขได้นะ ถ้าเราฝึกฟังสำเนียงของเนทีฟมากพอ
ก็ต้องใช้ความพยายามสูงมากทีเดียว กว่าจะแก้สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดได้

สรุปก็คือ การพูดต้องเริ่มต้นจากการฟัง (input > process > output)

วิธีการออกเสียงคำว่าひょん นี่ไม่รู้จะอธิบายเป็นตัวอักษรยังไงดี แต่จะพยายาม….

เริ่มแรก สูดลมหายใจเข้าช้า ๆ ห่อมุมปากไว้หน่อย แล้วพ่นลมออก มันจะได้เสียง “ฮิ้ว” ใช่มะ
พื้นฐานจะเริ่มจากเสียงนี้ ห้ามลมออกจากจมูกเด็ดขาด ไม่งั้นมันจะกลายเป็นเสียงนาสิก
(อยากรู้ว่าเสียงนาสิกเป็นยังไงให้ลองเอาปลายนิ้วอังจมูกแล้วพูดว่า “หนึ่งร้อย”
คำที่มีลมออกจากจมูกคือคำที่ใช้เสียงนาสิก)

จากนั้นสูดลมเข้าอีกรอบ  รับรู้ถึงลิ้นไก่ในคอว่ามันกำลังปิดช่องคอไม่ให้ลมจากปอดผ่านหลอดลมขึ้นไปถึงจมูกได้ (นี่คือเหตุผลว่ามนุษย์มีลิ้นไก่ทำไม) แล้วอัดลมจากปอด ให้ลมนั้นจะพุ่งกระทบเพดานปากออกไป โดยที่ปลายลิ้นไม่แตะโดนฟันหรือปุ่มเหงือกใด ๆ (ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเสียงวรรค ฮ.ในภาษาญี่ปุ่น ( ひ ) คือ จำเป็นต้องใช้เสียงลมจากลำคอ) พยายามออกเสียงกึ่ง ๆ  “เฮีย” กับคำว่า “ยอง” หรือเอาสองเสียงนี้แหละมาผสมกัน ทีนี้เราก็ได้ล่ะ คำว่า   ひょん

เมื่อเทียบกันแล้ว เสียงลงท้าย “ยอง” จะชัดเจนกว่า ฉะนั้นการสะกดひょんด้วยภาษาไทยให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็คือคำว่า “ฮยอง”

เอ้อ …. เราสอบผ่านคลาส Japanese Linguistics หฤโหดมาจากมหาลัยแล้ว
โปรดวางใจว่าเราไม่ได้มโนนะคะ555555555555555

โอเค กลับมาเรื่องความสงสัยเริ่มต้น แล้ว “ฮยอง” นี่แปลว่าอะไร?

เชื่อมะ เปิดหาในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (ตีพิมพ์ปี2004) ไม่เจอ ไม่ปรากฏว่ามีคำนี้อยู่ในดิคเล่มเท่าควาย แต่ดันไปเจอฮยองอยู่ในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นโบราณ ……..=A=

ถ้าคิดในแง่ที่ว่าไม่เคยได้ยินคนสมัยนี้พูดคำนี้ออกจากปาก มันก็ถือว่าสมเหตุสมผลนะ….

แต่ถ้าให้พูดถึงรากศัพท์ต้นกำเนิดเดี๋ยวจะยาว เราพาแร่ดจีนแผ่นดินใหญ่ไม่กลับง่ายแน่ ๆ
เอาเป็นว่าโดยทั่วไป ひょんถูกใช้ในความหมายของ

“สิ่งที่ไม่คาดคิด” “เกินคาด” “แปลกประหลาดกว่าที่คาด”

9

สมแล้วที่เป็นมัตสึเระซัง *ปรบมือ*

ส่วนเรื่องที่ว่าใครเป็นคนตั้งให้ ช่วงก่อนหน้านี้ เราอ่านจากโฟโต้บุ๊คเล่ม 2
ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2014 ของมัตสึอิ เรนะ “Hemeretto” ฟตบ.ชื่อประหลาด
ที่เจ้าตัวมาเฉลยว่า อ๋อ มันคือ Helmet หมวกกันน็อคน่ะแหละ แต่ตอนเด็ก ๆ นางออกเสียงคำนี้ไม่ถูก กลายเป็น Hemeretto ทุกทีเลย….   น่าเอ็นดู

8

ในคอลัมน์คำถามไร้สาระ 48 ข้อกับมัตสึอิ เรนะ

Untitled

2(แล้วทำไมมันต้องอยู่คนละหน้า …..)

Q: ช่วยบอกต้นกำเนิดของคำว่า “ฮยอง” จากชื่อเล่นปริศนา “เรนะฮยอง” หน่อยครับ

มัตสึอิ เรนะ: (โอชิมะ) ยูโกะซังบอกว่า “เธอนี่ทำตัวคาดเดาไม่ได้ (ฮยอง) ยังไงก็ไม่รู้นะ งั้นเรียก เรนะฮยอง! แล้วกัน” แล้วมันก็แพร่หลายออกไปมากกว่าที่คิดอีกค่ะ ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ “นุราริฮยอง” หรอกนะคะ แต่ก็มีส่วนที่ให้ความรู้สึกร่วมคล้าย ๆ แบบนั้นอยู่เหมือนกัน

# นุราริฮยอง คือผีญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ชอบผลุบ ๆ โผล่ ๆ เข้าบ้านคนอื่นเพื่อลักขโมยกินอาหาร ไม่มีใครจับตัวได้เพราะตัวลื่น (นุราริ) และการฮยองซึ่งหมายถึง ปุ๊บโผล่ ปั๊บหาย มีพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้นั่นเอง

ที่มัตสึอิ เรนะบอกว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับนุราริฮยอง หมายถึงต้นกำเนิดของคำว่า “ฮยอง”
ในชื่อเรนะฮยองไม่ได้ถูกตั้งเพราะเธอเหมือนผีนุราริฮยองนะ แต่ก็มีอารมณ์ฮยอง
แบบเดียวกับผีนุราริฮยองเหมือนกัน

ก็เกือบจะปิดคดีได้ล่ะ ถ้าไม่ใช่เพราะทวีตนี้ของคิตาฮาระ ริเอะ

เรนะฮยอง ยินดีด้วยนะที่จบการศึกษา

ฉันเฝ้ารอนักแสดงหญิงมัตสึอิ เรนะอยู่ค่ะ ถ้าฉันได้เห็นเรนะจังทำกิจกรรมต่อไปในอนาคต
ฉันคงจะนึกเจ็บใจแล้วก็อิจฉาไปด้วยแน่ ๆ เลย 😌🎀

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสุดยอดไปเลย 😌🎀 จะคอยเอาใจช่วยค่ะ‼︎

แถมคนที่ตั้งชื่อเล่นว่า เรนะฮยองน่ะ

คือฉันนะ!!!!!!! ฮ่า ๆ

@renampme


เลยเอ๊ะ อ้าว คิตาริเอะเป็นคนตั้งเหรอ แล้วที่เจ๊มัตสึอิแกเล่าในโฟโต้บุ๊คคือร้ะ 55555555555555555555555

เรามาย้อนกลับไปเมื่อคอนเสิร์ต SKE48 Hako de Ose (นาโกย่าโดม) วันที่ 1 ก.พ. 2014 กัน

3

http://news.walkerplus.com/article/44243/

มัตสึอิ เรนะเผยว่า คนที่ตั้งชื่อ “เรนะฮยอง” ก็คือ คิตาฮาระ ริเอะ

“เป็นเพราะในทีม E ไม่มีคนที่มีชื่อเล่นจำง่าย ๆ เป็นจุดขายเลย
ก็เลยขอให้ริเอะจังตั้งชื่อเล่นให้เมมเบอร์ด้วย”

ย้อนไปก่อนหน้านั้นอีก

4

https://plus.google.com/u/0/108536765591006886419/posts/jQhdi3DRa8r

มัตสึอิ เรนะ (30 พ.ค. 2013)

ช่วยเรียกว่าเรนะฮยองด้วยนะคะ

ไม่ชอบชื่อเรนะทามุอ่ะー_(ω`)⌒)


คอมเม้นท์นี้ก่อให้เกิดกระแส “เรนะฮยองฟีเวอร์”

ก่อนหน้านี้แฟน ๆ พากันเรียกนางในเว็บใต้ดินต่าง ๆ ว่า “เรนะทามุ”
อันมีที่มาจากความที่นางชอบอนิเมเรื่องกันดั้ม

“หุ่นตัวสีขาวของสหพันธรัฐ” > “กันดั้ม”

“คนตัวขาวของ SKE” > “เรนะทามุ” (เรนะตั้ม)

** ธรรมชาติการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น มีบางเงื่อนไขที่ต้องเปลี่ยนเสียง T ให้เป็น D (ภาษาศาสตร์เรียกว่า การเปลี่ยนเป็นเสียงขุ่น) จะดั้ม หรือตั้ม หรือทามุ มันก็คำเดียวกัน

เมื่อเจ้าตัวขออย่างนั้น ทุกคนก็เลยพากันเรียกแบบนั้น เมมเบอร์ที่พากันเรียก “เรนะฮยอง” ก็มีหลายคน ทั้งชิมาซากิ ฮารุกะ, ซาชิฮาระ ริโนะ, คิตาฮาระ ริเอะ, โยโกยามะ ยุย และคิซากิ ยูริอะที่ดูจะเรียก “ฮยอง” ให้เห็นอยู่บ่อย ๆ

https://plus.google.com/114392080665434978357/posts/Sw6gF2WtGv4

https://plus.google.com/109380179669644031316/posts/dTf6LUHN9DP

นอกจากปัญหาว่าข้อมูลในโฟโต้บุ๊คกับที่เจ้าตัวและคิตาริเอะยืนยันจากปากจะไม่ตรงกันเลยแล้ว
ปัญหาที่สองก็คือ ไม่รู้ว่า “ฮยอง” มีที่มาจากอะไรกันแน่

ถ้ายึดตามโฟโต้บุ๊ค “ฮยอง” ของเรนะฮยองก็มีความหมายตามที่กล่าวไป

แต่มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อมูลในโฟโต้บุ๊คจะผิดพลาด เพราะคนตั้งชื่อให้เองกับมืออย่างคิตาริเอะ
คงไม่ลืมหรือจำสับสนว่าตัวเองตั้งหรอก เรนะเองก็เคยพูดในคอนเสิร์ตมาแล้วด้วย

งั้นตอนนี้ ช่างฟตบ.มันไปก่อน…….

มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า “ฮยอง” นี่หมายถึง “ฮยอง” ในภาษาเกาหลีรึเปล่า?

อืมมมมม ก็มีเหตุผลนะ เมื่อสามสี่ปีก่อนเกาหลีฟีเวอร์ก็แพร่ไปในญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อยด้วย แต่เกิดคำถามขึ้นว่า ถ้า “ฮยอง” มาจาก “ฮยอง” ในภาษาเกาหลีจริง ๆ ทำไมคิตาริเอะถึงไม่ใช้คำว่า “โอป้า” ที่มีความหมายว่า “พี่ชาย” เหมือนกัน ทั้งที่น่าจะคุ้นหูมากกว่า “ฮยอง” ตั้งเยอะ?

แถมคำว่า “ฮยอง” ก็ใช่จะออกเสียงง่ายเนาะ
ช่วงแรกโอตะบ่นกันระนาวว่า “เรนะฮยอง” ออกเสียงยากจะตาย แถมแปลว่าไรก็ไม่รู้

ศัพท์ในภาษาเกาหลีก็มีคำแยกเพศเหมือนกับภาษาตะวันตก

형 “ฮยอง” แปลว่า พี่ชาย ใช้สำหรับ “ผู้ชายใช้เรียกผู้ชาย” ซึ่งมีอายุมากกว่า

오빠 “โอป้า” แปลว่า พี่ชาย ใช้สำหรับ “ผู้หญิงใช้เรียกผู้ชาย” ซึ่งมีอายุมากกว่า

นี่เราก็ไม่ได้มโนนะ เคยเรียนเกาหลีมานิดนึง ถึงจะลงหม้อหมดแล้วก็ยังสะกดคำถูกอยู่นะ 5555555555555

เพราะฉะนั้น เมื่อมองความเป็นไปได้ที่น่าจะเป็นไปได้จริง ๆ แล้วก็จะสรุปได้ดังนี้

คนตั้งชื่อฮยอง : คิตาฮาระ ริเอะ

ความหมาย : ตามภาษาญี่ปุ่นว่า “เธอนี่ทำตัวคาดเดาไม่ได้ (ฮยอง) ยังไงก็ไม่รู้นะ
งั้นเรียก เรนะฮยอง! แล้วกัน”

ซึ่งประโยคนี้ ยูโกะเป็นคนพูดเองจริง หรือมัตสึอิ เรนะจำผิด หรือโฟโต้บุ๊คเกิดผิดพลาดอะไรสักอย่าง
ตรงนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้ เพราะคิตาริเอะก็ไม่เคยบอกที่มาของชื่อ “ฮยอง” เลย

สรุปเอนทรี่นี้จะสื่ออะไรกันแน่นะ เหมือนมาชวนให้ชาวบ้านนั่งสงสัยด้วยกันเล่น ๆ 5555555555555555

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ แฟน ๆ ก็พากันเรียกมัตสึอิ เรนะว่า “ฮยองซัง”
ในความหมายเชิงตรงกันข้ามกับ “ฮิเมะ” (เจ้าหญิง) ไปแล้ว
โดยเฉพาะเวลาโม่ยเด็ก ความฮยองจะออกนอกหน้าเหลือเกิน

7
อืม นี่ก็ทำให้เห็นว่าภาษามีวิวัฒนาการไม่สิ้นสุดนะ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว

โอเค ฟังดูดีใช้ได้ สรุปแบบนี้แล้วกันเนอะ♥

นอกจากTIF รายการที่ฮยองไปโม่ย เอ๊ย ฝึกฟันดาบฉายแล้วด้วยนะ( ̄∇ ̄*)ゞ

CLVBL2TUsAEugQdCLVBMjJUcAEse1z

ฮู้ว!